อัลไซเมอร์ กับ 3 ระยะอาการที่คนใกล้ตัวสังเกตได้

อัลไซเมอร์ กับ 3 ระยะอาการที่คนใกล้ตัวสังเกตได้

ถ้าวันหนึ่งคนที่คุณรักเริ่มถามคำถามเดิมซ้ำๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ เริ่มหลงลืมเรื่องสำคัญในชีวิต หรือเปลี่ยนไปเป็นคนที่เริ่มหงุดหงิดง่ายขึ้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเล็กๆ ที่บ่งบอกว่าคนใกล้ตัวอาจมีอาการของ "อัลไซเมอร์" ซึ่งโรคนี้ถือเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่พบบ่อยสูงเป็นอันดับ 5 ในผู้สูงอายุ และเป็นหนึ่งในโรคที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต มีผลให้เกิดภาวะสมองเสื่อมซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากคนใกล้ตัวมีการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด จะสามารถชะลอและป้องกันอาการของโรคไม่ให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น การเข้าใจอาการของโรคจึงเป็นเรื่องสำคัญที่นำไปใช้ในการดูแลและสังเกตอาการเบื้องต้น โดยอาการของโรค "อัลไซเมอร์" แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 : อาการหลงลืม โดยจะเริ่มลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่น ลืมปิดไฟ ลืมว่าทานข้าวแล้ว ถามซ้ำๆ เช่น ถามว่าทานข้าวหรือยัง อีกไม่นานก็ถามใหม่ พูดซ้ำๆเรื่องเดิม เป็นต้น

ระยะที่ 2 : อาการหลงลืมเป็นมากขึ้น บางครั้งจำบ้านตัวเองไม่ได้ เดินออกจากบ้านโดยไม่มีจุดหมาย เริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยน เช่น ขี้หงุดหงิด พูดจาหยาบคาย เริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน มีอาการทางประสาทมากขึ้น เช่น กลัวคนมาทำร้าย คิดว่ามีคนมาขโมยของ ซึ่งทำให้การดูแลเป็นไปด้วยความยากลำบากขึ้น

ระยะที่ 3 : มีอาการรุนแรงขึ้น ไม่สามารถดูแลทำกิจวัตรประจำวันได้ โดยระยะนี้ ผู้ป่วยมีอาการถดถอยในทุกด้าน ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง รับประทานได้น้อยลง แทบจะไม่พูดจา การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เพราะสมองเสื่อมเป็นวงกว้าง

 

จะเห็นได้ว่าอาการในแต่ละระยะมีความรุนแรงไม่เท่ากัน ถ้ามีการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ก็จะสามารถชะลออาการได้เร็วขึ้น และหากคนใกล้ตัวในบ้านเกิด 1 ในอาการที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การให้ความเข้าใจ ดูแลเอาใจใส่ คอยช่วยเหลือในการใช้ชีวิตประจำวัน ที่สำคัญที่สุดคือการหมั่นดูแลอารมณ์ความรู้สึกของผู้ดูแล ซึ่งเป็นไปได้มากว่าจะมีอาการเครียด ไม่สบายใจ เมื่อไหร่ที่รู้สึกเหนื่อยล้า ควรพัก และหาทางผ่อนคลายให้ตัวเอง หรือสลับให้ผู้อื่นมาดูแลแทน

 

ซึ่งการดูแลรักษาโรคในกลุ่มโรคสมองเสื่อมและ "อัลไซเมอร์" ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่ Koon "คูน" ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care คือ เราให้ความสำคัญทั้งตัวผู้ป่วย และผู้ดูแล เราเป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับการให้การดูแลรักษา โดยสามารถเริ่มเข้าสู่กระบวนการรักษาได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการตั้งแต่ระยะแรก ทีมแพทย์ และนักกิจกรรมบำบัดหลากหลายสาขาวิชาชีพ จะเข้ามาร่วมดูแลรักษา พูดคุยถึงเป้าหมายและความต้องการของคนไข้และผู้ที่ดูแลร่วมกัน เราจะออกแบบกิจกรรมต่างๆ ตามความชอบของแต่ละบุคคลเพื่อประโยชน์ต่อการฟื้นฟูและกระตุ้นความทรงจำ ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้ Music Therapy , Art Therapy และ Aroma Therapy หรือจะเป็นการฝึกฝนสมองง่ายๆ เช่น คิดเลข อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ที่ดูแล เพื่อการเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งร่างกาย และจิตใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน

สอบถามและนัดหมาย โปรแกรมตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม กับ "คูน" ได้ที่

เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์

Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8