การดูแลรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care คือ การรักษาแบบองค์รวมที่มุ่งเน้นไปที่การจัดการกับความไม่สุขสบายทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ อย่างลึกซึ้ง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเวลาที่มีคุณค่าให้แก่ผู้ป่วยให้ดีขึ้นในทุกมิติ แต่บ่อยครั้งที่หลายๆคนอาจจะละเลยและมองข้ามความสำคัญของการใส่ใจดูแลสุขภาพจิตใจของผู้ที่ดูแลคนไข้ (Caregiver) ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงและผู้ดูแลที่ถูกจ้างมาดูแลคนไข้
Koon "คูน" รพ. เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในด้านการรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care แห่งแรกของประเทศไทย ให้คำปรึกษาและดูแลรักษาด้านการรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care แก่คนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงต่างๆ ที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของคนไข้และทำให้ร่างกายเสื่อมถอยลงจนลดทอนวันเวลาในชีวิตของคนไข้ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ จึงขอแบ่งปัน 5 ข้อดีของการดูแลสุขภาพจิตใจของ Caregiver ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในการให้การดูแลคนไข้ เพื่อทำให้สุขภาวะทางด้านจิตใจได้รับการฟื้นฟูและได้รับการดูแลที่ถูกต้อง
1. เชื่อมสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนไข้และผู้ที่ดูแลคนไข้ (Caregiver)
สายสัมพันธ์ระหว่างคนไข้และผู้ดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายสัมพันธ์ในครอบครัวนั้นมีความลึกซึ้งมาก เมื่อผู้ดูแลมีสภาพจิตใจที่สมดุลและยืดหยุ่น พวกเขาจะพร้อมที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับคนไข้ ความสัมพันธ์นี้ไม่เพียงแต่ให้การดูแลทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่ยังให้การสนับสนุนทางอารมณ์ที่จำเป็นต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไข้อีกด้วย
2. เพิ่มความเมตตากรุณาผ่านการดูแลตนเอง (Self-care)
ความเครียดและความวิตกกังวลทางอารมณ์จากการดูแลคนไข้อาจนำไปสู่ความเหนื่อยล้า ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพในการให้การดูแลที่มอบแก่คนไข้ได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องมุ่งเน้นไปที่การดูแลสุขภาพจิตใจ ผู้ดูแลอาจจะจำเป็นต้องหันมาปฏิบัติตนเพื่อดูแลตนเอง(Self-care) เช่น การฝึกสติ นั่งสมาธิ ใกล้ชิดธรรมชาติท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่สงบ เขียนสิ่งที่อยากขอบคุณ (Gratitude Jounal) สิ่งเหล่านี้จะช่วยเติมเต็มความเมตตากรุณาของตัวผู้ดูแลได้อย่างเหมาะสม
3. เสริมสร้างการตัดสินใจที่มีข้อมูลและความรู้อย่างถูกต้อง
ผู้ดูแลบ่อยครั้งมีบทบาทที่สำคัญในการตัดสินใจสำหรับคนไข้ เช่น การเลือกแนวทางการรักษาและการตัดสินใจยุติการรักษา การให้ความสำคัญกับสุขภาวะทางจิตใจของผู้ดูแลจะช่วยเตรียมความพร้อมให้พวกเขาสามารถพูดคุยสิ่งเหล่านี้ได้อย่างชัดเจนและความมั่นใจ การตัดสินใจที่มีข้อมูลและความรู้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนและรอบด้าน เป็นการเตรียมความพร้อมทางจิตใจเพื่อสนับสนุนสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่คนไข้
4. ป้องกันอาการหมดไฟของผู้ดูแล
อาการหมดไฟของผู้ดูแลอาจบดบังประสบการณ์การดูแลคนไข้ ซึ่งส่งผลต่อทั้งผู้ดูแลและคนไข้ การให้การดูแลสภาพจิตใจแก่ผู้ดูแลเป็นสิ่งที่ป้องกันความเหนื่อยล้า โดยการสร้างการรับรู้และตอบสนองต่อความต้องการ อารมณ์ ความคิดและความรู้สึกที่เกิดขึ้นของผู้ดูแลเอง ซึ่งจะทำให้ผู้ดูแลไม่ตกเป็นเหยื่อของความเหนื่อยล้าทางร่างกายและจิตใจที่ทำให้เกิดสภาวะเหนื่อยล้าและหมดไฟ
5. สร้างสังคมแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน
การสร้างชุมชนเพื่อสนับสนุนและแบ่งปันข้อมูลสำหรับผู้ดูแลไม่ว่าจะเป็นออฟไลน์หรือออนไลน์ ล้วนแล้วแต่ช่วยให้ผู้ดูแลสามารถเชื่อมต่อกับผู้อื่นที่อยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายกัน ความรู้สึกที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มและประสบการณ์ที่แบ่งกันนี้ จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิดเห็น ผ่อนคลายทางอารมณ์ความรู้สึกและลดความรู้สึกของความเหงาลงได้