หนึ่งในคำถามสำหรับผู้ที่กำลังมองหาข้อมูลการรักษา Palliative Care (แบบประคับประคอง) คือ การรักษารูปแบบนี้เหมาะกับกลุ่มโรคใดบ้าง? และ Palliative Care ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ทั้งทางกายและใจอย่างไร?
Koon "คูน" เรามีความเชี่ยวชาญสำหรับการดูแลรักษาด้าน Palliative Care หรือ การรักษาแบบประคับประคอง ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเวลาของคนไข้ โดยเฉพาะผู้ป่วยในกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและอาการของโรคนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ลดลงและไม่ดีอย่างที่เคย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ
ดังนั้นเราจึงมุ่งเน้นการดูแลที่ครอบคลุมทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ จัดการอาการไม่สุขสบายต่างๆ อย่างเข้มข้น ส่งผลให้คนไข้มีกำลังใจที่จะใช้ชีวิตต่อไป โดยคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า Palliative Care เป็นเพียงการประคับประคองซึ่งจะเริ่มได้ก็เมื่อ "ยอมแพ้" และหยุดการรักษาหลัก ทว่าความจริงแล้ว สามารถทำควบคู่ไปกับการรักษาต่างๆได้ตั้งแต่แรกที่เริ่มวินิจฉัย ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนว่ายิ่งเริ่มเข้าสู่การดูแลแบบประคับประคองได้เร็ว จะทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตและเวลาที่ดีให้กับผู้ป่วยได้มากขึ้น