การดูแลคนที่คุณรักซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับโรคมะเร็งระยะสุดท้ายผ่านการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) นับเป็นอีกหนึ่งบททดสอบที่สำคัญ ในช่วงเวลานี้การสื่อสารอย่างเปิดเผย จริงใจและตรงไปตรงมา คือ เครื่องมือที่ทรงพลังที่จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ และความผูกพัน การพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความรู้สึก ความกลัว และความหวัง ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมสร้างสายสัมพันธ์ในครอบครัวเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการมอบการดูแลที่ตอบสนองความต้องการ ความปรารถนาที่ดีที่สุดให้แก่คนที่คุณรักอีกด้วย
Koon "คูน" ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาด้าน Palliative Care (แบบประคับประคอง) มุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้และครอบครัวอย่างเข้มข้นทั้งกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยเฉพาะคนไข้ในกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและอาการของโรคนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ลดลงและไม่ดีอย่างที่เคย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ จึงขอแบ่งปันถึงความสำคัญของการสื่อสารอย่างเปิดเผย และมอบแนวทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ในการสนับสนุนและดูแลคนที่คุณรัก พร้อมกับจัดการอารมณ์และจิตใจผ่านบทสนทนาที่จริงใจและเปี่ยมด้วยความเห็นอกเห็นใจ ในช่วงเวลาที่ท้าทายของโรคมะเร็งระยะสุดท้าย
4 วิธีสร้างการสื่อสารอย่างจริงใจ เมื่อรู้ว่าคนใกล้ตัวป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย
สร้างพื้นที่ปลอดภัยสื่อสารกับทุกคนรอบตัว การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสื่อสารอย่างเปิดเผยและจริงใจเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกในครอบครัวและคนไข้ในระยะประคับประคองและป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย รู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยแสดงความคิดเห็น อารมณ์และความรู้สึกต่างๆ บุคลากรทางการแพทย์ของรพ. คูน จะร่วมพูดคุยสื่อสารอย่างเปิดเผย รับฟังอย่างเข้าใจ ตรงไปตรงมา เพื่อตอบสนองความต้องการ ความปรารถนา และความคาดหวังของคนไข้และครอบครัวให้มากที่สุด
แลกเปลี่ยนรับรู้ความต้องการในช่วงบั้นปลายชีวิต การพูดคุยเกี่ยวกับความประสงค์และความต้องการในช่วงบั้นปลายชีวิต เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญที่ต้องให้ความใส่ใจและเอาใจใส่อย่างละเอียดอ่อน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ทั้งคนไข้และครอบครัวต้องสื่อสารพูดคุยอย่างเปิดเผย กระบวนการวางแผนการดูแลล่วงหน้า(Advance Care Planning) จึงมีบทบาทสำคัญที่เข้ามาช่วยเป็นเครื่องมือในการวางแผนดูแลรักษามิติในเชิงการแพทย์ทั้งร่างกายและจิตใจ การวางแผนด้านการเงิน สังคมและเป้าหมายในชีวิต ให้ความสำคัญกับการสื่อสารและประสานงานร่วมกันระหว่างคนไข้ ครอบครัวและบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อส่งเสริมการสื่อสารพูดคุยในเชิงบวก สร้างความเข้าใจรับรู้ในความต้องการและเป้าหมายที่แท้จริงของคนไข้และครอบครัว
ฟังอย่างตั้งใจและเห็นอกเห็นใจ การสื่อสารที่ดีไม่เพียงแต่การพูดคุยอย่างเข้าใจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการรับฟังอย่างตั้งใจและเห็นอกเห็นใจ เพื่อให้เข้าใจรับรู้ถึงความรู้สึกและความกังวลของคนที่คุณรักอย่างแท้จริงและช่วยเสริมสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีและลึกซึ้งระหว่างกันในครอบครัวมากยิ่งขึ้น
พูดคุยอย่างอ่อนโยนในหัวข้อที่ละเอียดอ่อน มะเร็งระยะสุดท้ายมักนำมาซึ่งปัจจัยต่างๆที่มีความละเอียดอ่อน เช่น การจัดการความเจ็บปวด การดูแลคุณภาพชีวิต และการรับมือกับความสูญเสียที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การสร้างบทสนทนาเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือเรื่องที่ท้าทายเหล่านี้ด้วยความอ่อนโยน จริงใจและตรงไปตรงมา โดยตระหนักถึงเรื่องราวทางอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกที่คนไข้และครอบครัวแบกรับ พร้อมเสนอวิธีการรับมือด้วยความเห็นอกเห็นใจเป็นแนวทางที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องรอบตัวของคนไข้จำเป็นต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง