4 วิธีดูแลกายใจผู้ดูแล (Self-care for Caregiver)

ในสังคมที่มีอัตราการป่วยด้วยโรคที่ไม่หายขาดเพิ่มขึ้น มาพร้อมกับจำนวนคนไข้ผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลมากขึ้น หน้าที่การดูแลคนไข้เหล่านี้มักเป็นหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งมักจะเป็นผู้หญิง เป็นสมาชิกที่ยังไม่แต่งงาน หรือคนสูงอายุ ซึ่งการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลอยู่ตลอดนั้นเป็นงานที่เหน็ดเหนื่อย และมักเกิดความตึงเครียดขึ้นกับผู้ดูแล จนบางครั้งอาจกระทบการใช้ชีวิตส่วนตัว ไม่มีเวลาพักผ่อน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นสะสมเป็นเวลานานจะเกิดความเหนื่อยล้าสะสม จนอาจทำให้หมดแรงดูแลคนไข้

เรามักมองข้ามผู้ที่ทำหน้าที่ ‘ให้การดูแล’ คนไข้ของเรา เรามักลืมว่าจริงๆ แล้ว การดูแลนั้นบางครั้งยากและเหนื่อยยิ่งกว่าการรักษาเสียอีก เพราะเป็นงานที่ต้องอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา ครอบครัวจึงไม่ควรละเลยความสำคัญของบุคคลกลุ่มนี้ การดูแลตนเอง หรือ Self-care ในบริบทการดูแลรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care ซึ่งมุ่งหวังที่จะรักษาสุขภาพจิตใจ การจัดการกับความเครียด และเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ดูแล เพื่อรับมือกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการดูแล สร้างสุขภาวะและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ดูแลสามารถรักษาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจของตนเองและมีความพร้อมในการให้การดูแลคนไข้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

Koon "คูน" รพ. เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในด้านการรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care แห่งแรกของประเทศไทย ให้คำปรึกษาและดูแลรักษาด้านการรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care แก่คนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงต่างๆ ที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของคนไข้และทำให้ร่างกายเสื่อมถอยลงจนลดทอนวันเวลาในชีวิตของคนไข้ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ จึงขอแนะนำ 4 วิธีดูแลกายใจของตัวเอง (Self-care) สำหรับผู้ดูแลที่ใกล้ชิดกับคนไข้ (Caregiver) ทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อรับมือกับความท้าทายของการดูแลบุคคลอันเป็นที่รักด้วยความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจ ดังนี้

  1. ฝึกสติเข้าใจสภาวะของตนเอง เมื่อผู้ดูแลต้องทำงานหลายอย่างพร้อมกันอาจจะนำไปสู่ความเครียดและหมดไฟ การฝึกฝนสติ เช่น การทำสมาธิ การหายใจลึกๆ และโยคะ สามารถช่วยให้ผู้ดูแลจัดการกับความเครียด ปรับปรุงและพัฒนาสุขภาพจิตโดยรวมได้ ดังนั้นการฝึกสติช่วยให้ผู้ดูแลอยู่กับปัจจุบัน ลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคต และช่วยให้พวกเขาพบช่วงเวลาแห่งความสุขแม้อยู่ในช่วงเวลาที่ท้าทายก็ตาม

  2. ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง สิ่งสำคัญสำหรับผู้ดูแล คือ สุขภาพร่างกายซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการให้การดูแลคนไข้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการดูแลคนไข้แบบประคับประคองนั้นต้องอาศัยร่างกายเป็นหลัก ผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพร่างกายของตนเองโดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำไม่เพียงแต่จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มระดับเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือ สารแห่งความสุข ซึ่งสามารถทำให้อารมณ์ดีขึ้นและลดความเครียดลงได้

  3. เข้าสังคมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในบางครั้งการดูแลคนไข้อาจทำให้รู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยว การเข้าสังคมพบปะคนรอบตัวเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ดูแลควรพูดคุยและแลกเปลี่ยนมุมมองกับคนใกล้ชิด เช่น เพื่อน ครอบครัว แพทย์และนักกิจกรรมบำบัดผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ อารมณ์ ความคิดและความรู้สึกของพวกเขา การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เข้าใจความท้าทายของการดูแลคนไข้แบบประคับประคอง จะส่งผลให้เกิดความรู้สึกของการมีตัวตนและลดความรู้สึกโดดเดี่ยว อีกทั้งยังให้แนวคิดและมุมมองใหม่ๆต่อการดูแลคนไข้ได้เช่นเดียวกัน

  4. หาเวลาพักผ่อนรีชาร์จทั้งกายใจ ผู้ดูแลมักรู้สึกว่าตนเองมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบเป็นจำนวนมาก จนละเลยความต้องการของตนเอง การกำหนดขอบเขต ภาระความรับผิดชอบ พูดคุยและปรึกษาร่วมกับในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ดูแลควรตั้งข้อจำกัดที่ชัดเจนเกี่ยวกับความพร้อมในความสามารถของตนและให้เวลากับตัวเอง โดยปราศจากความรู้สึกผิด การพักผ่อนและทำกิจกรรมที่ชื่นชอบและสนใจช่วยให้ผู้ดูแลสามารถชาร์จพลังและป้องกันไม่ให้เหนื่อยล้าทั้งกายและใจได้

ผู้ดูแล หรือ Caregiver คือ บุคคลที่สำคัญที่มอบความสุขสบายใจ ความเมตตา และความรักความอบอุ่นให้กับคนไข้ เพื่อให้การดูแลเป็นไปด้วยความราบรื่น ป้องกันความเครียด ภาวะหมดไฟ ผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดูแลตนเอง หรือ Self-care เพื่อทำให้สุขภาพทางกายและใจโดยรวมดียิ่งขึ้นผ่านการทำสมาธิ ให้ความสำคัญกับสุขภาพร่างกาย การแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม และหาเวลาพักผ่อนรีชาร์จร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังสามารถพูดคุย ปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ นักกิจกรรมบำบัดและนักจิตบำบัดผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการจัดการกับอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นได้ โดย คลินิกดูแลใจรพ.คูน คลินิกดูแลสุขภาพจิตใจที่พร้อมให้คำปรึกษาดูแลสุขภาพจิตใจสำหรับ Caregiver, สมาชิกครอบครัว, และ/หรือคนที่มีความใกล้ชิดกับคนไข้ รวมทั้งให้คำปรึกษาเรื่องแนวทางการสังเกตและรู้เท่าทันอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง พูดคุยและใช้เครื่องมือต่างๆเช่น ศิลปะบำบัด เพื่อจุดประสงค์ในการจัดการกับอารมณ์เฉพาะบุคคล

สามารถศึกษาข้อมูล เพราะอะไร "คูน" ถึงเป็นทางเลือกการรักษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของ "คุณ" ? เพื่อทราบรูปแบบการรักษาของรพ.คูน ซึ่งมุ่งหวังที่จะสร้างและเติมเต็มคุณภาพชีวิตและช่วงเวลาที่มีค่าของคนไข้และครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายและความปรารถนาที่แท้จริงเฉพาะบุคคลอย่างเข้มข้มครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ

เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์

Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8