5 วิธีสื่อสารกับคนที่รักเริ่มทำ Advance Care Planning ด้วยความรักและเข้าใจ
การพูดคุยสื่อสารเรื่องการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning) กับคนที่คุณรักอาจเป็นหนึ่งในบทสนทนาที่ท้าทายที่สุดเท่าที่คุณเคยมีมา ซึ่งมักมีความเกี่ยวข้องกับความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้ อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการดำเนินของโรคและแนวทางการดูแลรักษาในอนาคต อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงบทสนทนาด้วยความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจและความเมตตานี้จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดเผยและจริงใจได้เป็นอย่างดี การเข้าใจมุมมองของคนที่คุณรักและครอบครัวที่เกี่ยวข้อง ช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัยและให้การสนับสนุนซึ่งจะมีส่วนช่วยให้พวกเขาก้าวผ่านช่วงเวลาที่สำคัญในการดูแลสุขภาพด้วยความเคารพต่อศักดิ์ศรีและความต้องการของคนไข้อย่างเหมาะสมที่สุด
Koon "คูน" ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาด้าน Palliative Care (แบบประคับประคอง) มุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้และครอบครัวอย่างเข้มข้นทั้งกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยเฉพาะคนไข้ในกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและอาการของโรคนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ลดลงและไม่ดีอย่างที่เคย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ จึงแบ่งปันประโยชน์ของการสื่อสารพูดคุยด้วยความเข้าใจด้วยการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning) ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับคนไข้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ตลอดจนได้รับความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันในครอบครัว ดังนี้
สร้างความเข้าใจลดความกลัวและความกังวลที่เกิดขึ้น การสนทนาเรื่องแนวทางการดูแลคนไข้ที่เผชิญกับโรครักษาไม่หายขาด มักก่อให้เกิดความกลัวต่อสิ่งที่ไม่รู้ และความไม่สบายใจในการเผชิญหน้ากับการดำเนินของโรคและความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นจึงควรเริ่มด้วยการยอมรับความรู้สึกเหล่านี้ ด้วยการใช้คำถามปลายเปิด เช่น "รู้สึกอย่างไรกับการพูดคุยเรื่องการตัดสินใจด้านการดูแลสุขภาพในอนาคต?" เพื่อให้ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคนไข้ได้แบ่งปันความคิด ความรู้สึก ข้อวิตกกังวลต่างๆ เพื่อร่วมวางแผนและจัดการการดูแลรักษาล่วงหน้าไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ
เลือกเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม เวลาและสถานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเริ่มบทสนทนาที่ละเอียดอ่อน หลีกเลี่ยงการพูดถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning) ในช่วงเวลาที่เกิดความเครียดหรือสภาพจิตใจยังไม่มีความพร้อม ดังนั้นจึงควรเลือกสถานที่ที่เงียบสงบและสบายให้คนที่คุณรักรู้สึกปลอดภัย โดยต้องแน่ใจว่าจัดสรรเวลาให้เพียงพอเพื่อไม่ให้การสนทนาเป็นไปด้วยความเร่งรีบ เปิดโอกาสให้คนที่คุณรักได้ใคร่ครวญและมีเวลาตอบสนองได้อย่างรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น
ใช้ภาษาที่นุ่มนวล โอนโยน ไม่ตัดสิน ภาษาและน้ำเสียงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายทอดความต้องการและความปรารถนาต่างๆ ผู้ดูแลและใกล้ชิดกับคนไข้ควรให้ความสำคัญและหลีกเลี่ยงคำพูดที่อาจฟังดูรุนแรงหรือกระทบกระเทือนต่อจิตใจ เช่น แทนที่จะพูดว่า "เราจำเป็นต้องคุยกันเรื่องความปรารถนาในวาระสุดท้ายของคุณ" คุณอาจพูดว่า "ผม/ดิฉันอยากให้แน่ใจว่าเราจะเคารพความต้องการในการดูแลของคุณ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต" วิธีนี้จะช่วยเน้นย้ำถึงความเคารพและตอบสนองต่อความปรารถนาที่จะทำตามความต้องการของคนที่คุณรักได้เป็นอย่างดี
แลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์และความกังวลของคุณ บางครั้งการแบ่งปันความคิดและความกังวลของคุณเองสามารถทำให้เป็นการสนทนา 2 ทางร่วมกันมากกว่าการพูดคุยฝ่ายเดียว ตัวอย่างเช่น คุณอาจพูดว่า "ผม/ดิฉันกำลังคิดถึงการดูแลในอนาคตของตัวเองและสิ่งที่สำคัญสำหรับผม/ดิฉัน มันทำให้ผม/ดิฉันสงสัยว่าคุณมีความคิดอย่างไรบ้าง" วิธีนี้ไม่เพียงแต่เปิดประเด็นการสนทนา แต่ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับคนไข้ได้มีโอกาสพูดคุยร่วมกันอย่างเข้าใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวทางการดูแลรักษาตลอดจนเป้าหมายในการรักษาอย่างสอดคล้องกัน
อยู่เคียงข้างสนับสนุนด้วยความรักความเข้าใจ การให้ความมั่นใจเป็นสิ่งสำคัญเมื่อพูดคุยเรื่องการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning) ให้คนที่คุณรักรู้ว่าคุณอยู่ที่นี่เพื่อสนับสนุนเคียงข้างพวกเขา ไม่ว่าพวกเขาจะตัดสินใจอย่างไร คุณอาจพูดว่า "ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจอย่างไร ผม/ดิฉันอยากให้คุณรู้ว่าผม/ดิฉันจะอยู่ที่นี่เพื่อสนับสนุนคุณและทำให้แน่ใจว่าความปรารถนาของคุณจะได้รับการปฏิบัติตาม" ประโยคนี้เป็นการตอกย้ำว่าคนไข้ไม่ได้อยู่เพียงลำพังในกระบวนการวางแผนการดูแลพูดคุยนี้ และมอบความเป็นอิสระในการตัดสินใจ เคารพต่อความต้องการ เป้าหมายและความปรารถนาของคนไข้อย่างแท้จริง
การเข้าถึงบทสนทนาเรื่องการวางแผนการดูแลล่วงหน้าด้วยความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจและความเมตตานี้สามารถเปลี่ยนการพูดคุยที่อาจสร้างความลำบากทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้กลายเป็นการถ่ายมอดมุมมอง แลกเปลี่ยนที่มีความหมาย ทุกคนที่เกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับคนไข้สามารถช่วยให้ก้าวผ่านขั้นตอนสำคัญนี้ด้วยความมั่นใจและความสงบใจ ซึ่งกระบวนการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning) ไม่ใช่แค่การวางแผนสำหรับอนาคต แต่เป็นการทำให้แน่ใจว่าเสียงของคนที่คุณรักจะได้รับการรับฟังและเคารพ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ ความปรารถนาอย่างแท้จริง
สามารถศึกษาข้อมูล เพราะอะไร "คูน" ถึงเป็นทางเลือกการรักษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของ "คุณ" ? เพื่อทราบรูปแบบการรักษาของรพ.คูน ซึ่งมุ่งหวังที่จะสร้างและเติมเต็มคุณภาพชีวิตและช่วงเวลาที่มีค่าของคนไข้และครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายและความปรารถนาที่แท้จริงเฉพาะบุคคลอย่างเข้มข้มครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ
ติดต่อนัดหมายผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพจิตใจ คลินิกดูแลใจรพ.คูน ได้ที่
เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์
Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8