วันหนึ่งถ้าคุณป่วยจนส่งผลให้การสื่อสารและการตัดสินใจในเรื่องสำคัญในชีวิตตลอดจนการดูแลรักษาทางการแพทย์ ไม่สามารถทำได้อย่างเป็นปกติอย่างที่เคย เราจะมีวิธีการแสดงออกถึงความต้องการ ความปรารถนาของเราได้อย่างไร?
Koon "คูน" รพ. เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในด้านการรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care แห่งแรกของประเทศไทย ให้คำปรึกษาและดูแลรักษาด้านการรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care แก่คนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงต่างๆ ที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของคนไข้และทำให้ร่างกายเสื่อมถอยลงจนลดทอนวันเวลาในชีวิตของคนไข้ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ
Koon "คูน" จึงขอชวนมาทำความรู้จักการเตรียมพร้อมในการดูแลสุขภาพล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการดูแลสุขภาพล่วงหน้า (Advance Care Planning) และการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขในวาระสุดท้ายของชีวิต ( Living Will ) เพื่อเป็นแนวทางในการให้คนไข้และครอบครัว สามารถร่วมกันปรึกษา และออกแบบการดูแลรักษาที่ตอบสนองต่อความปรารถนาและเป้าหมายในการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสมตลอดจนช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว เป็นแนวทางนำไปสู่การปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยแบบเฉพาะรายบุคคลต่อไป
Advance Care Planning และ Living Will ต่างกันอย่างไร?
Advance Care Planning หรือ การวางแผนการดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้า คือ กระบวนการวางแผนดูแลสุขภาพที่ทำไว้ก่อนที่ผู้ป่วยจะหมดความสามารถในการตัดสินใจหรือเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิต โดยแผนดังกล่าวอาจเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ โดยอาจจะใช้กระบวนการสนทนาปรึกษาร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ครอบครัว และทีมบุคลากรทางการแพทย์ หรือผู้ป่วยอาจทำแผนการดูแลดังกล่าวได้ด้วยตนเอง หรือปรึกษาสมาชิกครอบครัว หรือปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ ได้เช่นกัน
ในขณะที่ Living Will หรือหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขในวาระสุดท้ายของชีวิต คือ หนังสือซึ่งบุคคลแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าว่าไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงการยื้อความตายในวาระสุดท้ายของชีวิตของตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย ซึ่งถือเป็นสิทธิผู้ป่วยอย่างหนึ่งตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 โดยมีข้อปฏิบัติที่สำคัญ คือ 1. ผู้ป่วยจะต้องเป็นคนแสดงเจตนารมณ์ของตนเองว่าต้องการอะไร 2. ต้องให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ญาติหรือคนในครอบครัวรับรู้ถึงความต้องการนั้น และ 3. บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องยอมรับในสิ่งต่างๆที่อยู่ในเจตนารมย์ของผู้ป่วย
โดย Koon "คูน ขอสรุปสาระสำคัญและข้อแตกต่าง ดังนี้
Advance Care Planning เป็น "กระบวนการสื่อสารสองทาง" ระหว่างผู้แสดงเจตนาหรือผู้ป่วย กับ ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น คนในครอบครัว บุคลากรทางการแพทย์ เป็นการเตรียมตัววางแผนการดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า
Living Will เป็นเอกสารที่เน้นการแสดงเจตนาของผู้ป่วยและ/หรือผู้แทนโดยชอบธรรมอย่างเป็น "ลายลักษณ์อักษร"
Advance Care Planning เน้นที่ "กระบวนการ" ไม่ใช่ ตัวเอกสาร มุ่งเน้นการช่วยลดการให้การรักษาที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยที่จะนำไปสู่การขัดแย้งกันกับฝ่ายผู้ให้การรักษาพยาบาล เป็นการสื่อสารที่ผู้ป่วยเป็นผู้กำหนดเป้าหมายและความพึงพอใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาในอนาคต เน้นการพูดคุยสนทนา ปรึกษาร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ครอบครัว และทีมบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อมุ่งหวังการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ
Living Will เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการของการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า เพื่อลดความขัดแย้งในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์กับญาติ
Living Will มีผลเมื่อผู้ทำหนังสืออยู่ในภาวะที่ไม่อาจจะแสดงเจตนาด้วยตนเองได้ โดยวิธีสื่อสารตามปกติ หรืออยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต มีประเด็นสำคัญในเรื่องการปฏิเสธการช่วยฟื้นคืนชีพเมื่อหัวใจหยุดเต้น การเจาะคอ การใช้เครื่องช่วยหายใจ การให้สารอาหารและน้ำทางสายยาง และความประสงค์ที่จะเสียชีวิตที่บ้านหรือการเยียวยาทางจิตใจอื่นๆ